วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน

     มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน (อังกฤษ: Miss International Queen) เป็นการประกวดสาวประเภทสองนานาชาติระดับโลก เพื่อแสดงถึงศักยภาพ ความสามารถ ของสาวประเภทสอง มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน ถือว่าเป็นเวทีการประกวดสาวประเภทสองที่ใหญ่ไม่แพ้การประกวดสาวประเภทสองจากต่างประเทศ โดยทั่วไปการประกวดมิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน นั้นจะเริ่มประกวดตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ซึ่งจะใช้เวลาการประกวดและทำกิจกรรมประมาณ 1 เดือน และเป็นเช่นนี้ทุกปี สาวงามจากทั่วทุกมุมโลก 30 ประเทศ เพื่อเปิดโอกาส ให้กับสาวประเภทสองได้แสดงออกถึงความสามารถ การประกวดมิสอินเตอร์ชั่นแนลควีนจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2004 เป็นชื่อปัจจุบัน การประกวดในครั้งแรกๆ จัดที่ประเทศไทย ต่อมาได้ย้ายสถานที่ประกวดเป็นโรงละครทิฟฟานี่ พัทยา จนถึงปัจจุบัน

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%99

พระนางศุภยาลัต


พระนางศุภยาลัต


พระนางศุภยาลัต (พม่า :စုဖုရားလတ်) ประสูติ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา ประสูติแด่พระเจ้ามินดง กับพระนางชินพยูมาชิน (Hsinbyumashin ; นางพญาช้างขาว หรือที่รู้จักกันในนามพระนางอเลนันดอ) ด้วยความทะเยอทะยานของพระนางศุภยาลัต พระองค์จึงได้เป็นพระราชินีในพระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า

Supayalat.jpg

พระประวัติ

พระนางศุภยลัต เป็นราชบุตรีของพระเจ้ามินดง กับมเหสีรองคือพระนางอเลนันดอ พระองค์มีพระนามจริงว่า ศรีสุริยประภารัตนเทวี (Sri Suriya Prabha Ratna Devi) พระนางศุภยาลัตมีพระเชษฐภคินีคือ พระนางศุภยาคยี และมีพระขนิษฐาคือเจ้าหญิงศุภยากเล อุปนิสัยของพระนางศุภยลัตมีลักษณะเหมือนพระราชมารดา คือ มีความทะเยอทะยาน เจ้ากลอุบาย ใจร้าย ขี้หึง เชื้อสายดั้งเดิมเป็นสามัญชน เนื่องจากยายของพระนางเป็นแม่ค้าขายของในตลาดมาก่อน โดยพระเจ้าบาจีดอ (พระเจ้าจักกายแมง) รับเอามาเป็นนางสนมตั้งแต่ครั้งพระเจ้าบาจีดอยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชาย
พระเจ้ามินดง พระราชบิดาของพระนาง มีเจ้าฟ้านยองยาน กับเจ้าฟ้านยองโอ๊กที่พอจะมีความสามารถขึ้นครองราชย์ เพราะทั้งสองพระองค์เรียนจบโรงเรียนฝรั่ง มีความฉลาดและเข้มแข็งพอสมควร แต่พระนางอเลนันดอและขุนนางเห็นว่าจะคุมได้ยาก จึงเลือกเจ้าชายสีป่อที่อ่อนแอกว่า โดยบวชเป็นพระมาตลอด นิสัยเชื่องช้า หัวอ่อน และพระเจ้ามินดงเองก็เกรงพระทัยมเหสีรอง จึงไม่ได้ตั้งเจ้าฟ้าพระองค์ใดเป็นรัชทายาทโดยเด็ดขาด

การยึดอำนาจ

เมื่อพระเจ้ามินดงทรงพระประชวรหนัก พระนางอเลนันดอจึงเรียกพวกเสนาบดีประชุมในที่รโหฐานและประกาศตั้งเจ้าฟ้าสีป่อเป็นรัชทายาท ไล่จับกุมบรรดาเจ้าฟ้าและขุนนางในฝ่ายอื่นๆที่ไม่ใช่ของตัวเองใส่คุกไปมากมาย ต่อมาเมื่อพระเจ้ามินดงสวรรคตแล้ว ก็ให้เจ้าฟ้าสีป่อขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงพม่า พอขึ้นครองราชย์ได้พระมเหสีและมารดากับกลุ่มขุนนางก็จัดการสังหารบรรดาพี่น้องตัวเอง และบริวารรวมกันถึงราว 500 กว่าคน เจ้าชายองค์ใดถูกปลงพระชนม์ เจ้าจอมมารดา พระญาติและบรรดาลูกๆ รวมทั้งเจ้าน้ององค์หญิงเจ้าชายองค์นั้น ซึ่งมีทั้งผู้เฒ่าชราและแม้แต่เด็กจนถึงทารกไร้เดียงสาก็ถูกสังหารจนสิ้นด้วยสารพัดวิธีอันหฤโหด ขุนนางที่เคยรับใช้หรือญาติทางฝ่ายจอมมารดาก็จับฆ่าเสียสิ้นเหมือนกัน ด้วยพิธีที่พิสดาร และตามแต่เพชฌฆาตจะเห็นสนุก
การสังหารหมู่ดังกล่าวใช้เวลาอยู่สามวันจึงสังหารได้หมดเพราะต้องฆ่าที่วังแต่เวลากลางคืน เพื่อไม่ให้พวกชาวเมืองรู้ ที่เลือดเย็นกว่านั้นคือ พระนางศุภยาลัตทรงให้จัดงานปอยตลอดสามวันนั้น ให้ชาวเมืองเที่ยวงานให้สนุก พระเจ้าธีบอก็จัดให้ดื่มน้ำจัณฑ์จนเมามายเพื่อไม่ให้สนใจการสังหารครั้งนั้น เมื่อสังหารแล้วก็จับโยนใส่หลุมใหญ่ข้างวังรวมกัน แล้วเอาดินกลบ แต่พอพ้นสามวัน ศพเหล่านั้นเริ่มขึ้นอืดจนเนินหลุมที่ฝังพูนขึ้น ก็เอาช้างหลวงมาเหยียบย่ำให้ดินที่นูนขึ้นมานั้นแบนราบลง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถปิดบังหลุมใหญ่นั้นได้ เพราะจำนวนศพมีมากจนดันเนินดินให้นูนขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายก็ต้องให้ขุดศพใส่เกวียนไปฝังบ้าง ทิ้งน้ำบ้าง[2] จนเป็นเรื่องที่มีการเล่าขานมากที่สุดคือการสำเร็จโทษเหล่าพระบรมวงศ์สานุวงศ์น้อยใหญ่ เป็นเวลา 3 คืน เล่ากันว่าคืนนั้นสุนัขเห่าหอนทั้งคืน จนชาวเมืองผวาไม่เป็นอันหลับอันนอน พระนางจัดให้เอาวงดนตรีปี่พาทย์ การแสดงต่าง ๆ มาบรรเลงในวังตลอดเวลาที่ทำการสำเร็จโทษพวกเจ้านาย เพื่อให้เสียงดนตรีปี่กลองกลบเสียงกรีดร้องขอชีวิต หากดังไม่พอ เสียงฮาจะช่วยได้มาก พระนางตรัสให้คนร้องร้องดังขึ้น เล่นตลกให้ดังขึ้น และพระสรวลดังๆ แต่บางครั้งมีเสียงหวีดมาแต่ไกล พระเจ้าสีป่อจึงหันไปทางต้นเสียง พระนางศุภยาลัตก็หันมาถลึงพระเนตรกับปี่พาทย์ ส่วนนางพนักงานก็รินน้ำจัณฑ์ใส่ถ้วยทองถวายถึงพระหัตถ์พระเจ้าสีป่อ[3] แต่ขณะเดียวกันในประวัติศาสตร์พม่านั้นเชื่อว่าพระนางอเลนันดอ และเกงหวุ่นเมงจีอยู่เบื้องหลังการสั่งฆ่าโอรสธิดา

การสูญสิ้นอำนาจ

พระนางศุภยาลัต และแตงดาวุ่นกี้ไม่พอใจที่อังกฤษให้ค่าสัมปทานป่าไม้น้อย และฝรั่งเศสทำท่าจะเข้ามาเสนอให้มากกว่าประกอบกับมีการกล่าวหาว่าอังกฤษลอบตัดไม้เกินกว่าที่ได้รับสัมปทาน พม่าเลยสั่งปรับอย่างหนักถึง 1 ล้านรูปี อังกฤษก็ไม่พอใจยื่นประท้วง แต่พม่าไม่ยอม ตอนนั้นพระนางศุภยาลัตคิดว่าตัวเองมีฝรั่งเศสหนุนหลัง แต่ต่อมาเกิดเรื่องเข้าจริงๆ ฝรั่งเศสก็วางตัวเป็นกลาง
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2428 อังกฤษก็เริ่มส่งข้อเรียกร้องขั้นเด็ดขาด และพม่ายอมไม่ได้ เช่น ให้อังกฤษเป็นคนควบคุมนโยบายการค้าการเดินเรือของพม่าทั้งหมดฯลฯ มิฉะนั้นจะรบกับพม่า ซึ่งขณะนั้นอังกฤษได้ยึดพม่าได้ทางใต้ได้แล้วจากสนธิสัญญายันดาโบ
พระนางศุภยาลัตประกาศรบอังกฤษด้วยความหยิ่งยะโสโอหังว่าพม่านั้นเป็นชาติมหาอำนาจในเอเชียอาคเนย์ เคยชนะมาแล้วแม้แต่จีน หลงละเมอเพ้อพกอยู่กับอดีตอันยิ่งใหญ่ของพม่า โดยไม่เคยสนใจความก้าวหน้าของโลก โดยเฉพาะประเทศอภิมหาอำนาจแห่งยุคนั้นอย่างอังกฤษที่มีอาณานิคมทั่วโลกและเข้มแข็งทางการทหารอย่างยิ่ง
พระเจ้าธีบอตามพระทัยมเหสีจึงสั่งให้เตรียมพลไปรบ อังกฤษก็ให้นายพลแฮร์รี เพนเดอร์กาส นำทหารทั้งฝรั่งและอินเดียเคลื่อนพลเข้ารบ จากย่างกุ้งบุกไปตามลำน้ำอิรวดีถึงมัณฑะเลย์อย่างสบาย ใช้เวลาแค่ 14 วันก็ยึดเมืองหลวงได้ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า นอกเหนือจากอาวุธที่ดีกว่าอย่างเทียบไม่ติด แต่เหตุผลสำคัญที่สุดคือราษฎรไม่คิดจะต่อสู้เพราะไม่รู้จะสู้ไปเพื่ออะไร เนื่องจากรัฐบาลของพระเจ้าธีบอโดยพระนางศุภยาลัต กดขี่พวกเขามาตลอด บ้านเมืองจึงขาดความสามัคคีขนาดหนัก เนื่องจากกษัตริย์และมเหสีไม่เคยทำตนให้เป็นที่รักของประชาชนพม่าของพระองค์เอง พระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัตจึงถูกเชิญให้ไปยังเมืองรัตนคีรี ซึ่งเป็นการสิ้นสุดเอกราชของพม่า และการปกครองโดยราชวงศ์อลองพญาที่มีอย่างยาวนาน
 

ถูกเชิญออกนอกประเทศ


ขณะที่พระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัตถูกเชิญออกนอกประเทศเชิงกักกันที่เมืองมัทราสราว 2-3 เดือน ภายหลังจึงส่งไปประทับถาวรที่เมืองรัตนคีรีเมืองเล็กๆทางชายฝั่งทะเล ทางใต้เมืองบอมเบย์[5] (มุมไบในปัจจุบัน) แม้พระนางศุภยลัตถูกเนรเทศอยู่พระนางยังยังทำยศเป็นราชินีอยู่อีก ใครจะมาหาต้องคุกเข่าคลาน ไม่ยอมไปไหนเพราะไม่มีวอ ประสูติพระราชธิดายังต้องมีถาดทองรองรับ เจ้ายศเจ้าอย่างจนพวกที่ตามไปด้วยจากพม่าทนไม่ไหวหนีกลับพม่าหมด ในที่สุดก็เกิดทะเลาะกับพระนางอเลนันดอผู้เป็นแม่ จนพระนางอเลนันดอต้องขอกลับพม่า อังกฤษก็ยอมให้กลับคุมตัวไว้ที่ เมืองเมาะลำเลิงจนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าธีบอกับพระนางศุภยลัตถูกเนรเทศอยู่ที่อินเดียนาน 31 ปี จนพระเจ้าธีบอจึงสิ้นพระชนม์ที่เมืองรัตนคีรีนั่นเอง พระนางจึงได้รับอนุญาตให้พาลูกสาวไปอยู่ร่างกุ้ง ส่วนพระศพพระเจ้าธีบอนั้นฝังไว้ที่อินเดีย

คืนสู่พม่า

ต่อมา พระนางได้กลับมาสู่พม่าที่เมืองย่างกุ้ง ขณะอยู่ที่เมืองย่างกุ้งก็ยังทำยศทำศักดิ์ไม่ยอมคบหาสมาคมกับใคร ใครไปหาต้องหมอบกราบ ทรงเคียดแค้นขุนนางพม่าที่ไปเข้ากับอังกฤษ ตรัสบริภาษอยู่เป็นประจำ มีฝรั่งเขียนเกี่ยวกับพระนางไว้ว่า เมื่อพระนางแก่ตัวเข้าและรู้สำนึกในชีวิตแล้ว ทรงสงบเสงี่ยม สุภาพ น่าสงสาร ทรงเลี้ยงสุนัขเป็นเพื่อน และเสียพระทันต์ทั้งหมด[6] พระนางอยู่ในตำหนักที่อังกฤษจัดถวายให้ในเมืองย่างกุ้ง 10 ปี จึงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนพ.ศ. 2468 ขณะพระชนมายุ 65 พรรษา การจัดการพระศพก็เป็นไปตามยถากรรม ไม่ได้มีพิธีรีตองมากมายไม่ต่างจากคนทั่วไป ไม่เหลือเค้าโครงใดๆให้เห็นว่าครั้งหนึ่งนางเคยเป็นพระราชินีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของพม่า ปัจจุบันยังมีที่ฝังพระศพอยู่ในย่างกุ้ง[7] โดยรัฐบาลอังกฤษจัดการพระศพให้ตามธรรมเนียม แต่ไม่อนุญาตให้เชิญพระศพขึ้นไปที่ราชธานีกรุงมัณฑะเลย์ คงอนุญาตเพียงแต่ทำเป็นมณฑปบรรจุพระอัฐิเท่านั้น ปัจจุบันนี้อยู่ที่ถนนเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon Pagoda Rd.) ห่างจากบันไดด้านทิศใต้ของพระเจดีย์ชเวดากองมาประมาณ 200 เมตร สร้างเป็นกู่ทรงมณฑปยอดปราสาทแบบพม่า ก่ออิฐฉาบปูนขาว รูปทรงคล้ายที่ฝังพระศพของพระเจ้ามินดงในกรุงมัณฑะเลย์ ที่ฐานล่างมีแผ่นจารึกแผ่นเล็กของตอปยากะเล (Taw Payar Kalay) หรือออง ซาย (Aung Zay) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าสีป่อ ที่เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 2006 และนำอัฐิมาฝังไว้ในกู่เดียวกับพระนางศุภยาลัต โดยพระนางมีศักดิ์เป็น "พระอัยยิกา" ของนัดดาองค์นี้[8]

อ้างอิง

  1. ^ Christopher Buyers. "The Konbaung Dynasty Genealogy". royalark.nethttp://www.royalark.net/Burma/konbau11.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-09-26.
  2. ^ พม่าเสียเมืองก็เพราะกษัตริย์อ่อนแอและมเหสีหฤโหด
  3. ^ บุญยงค์ เกศเกศ. อรุณรุ่งฟ้า"ฉาน"เล่าตำนานคน"ไท". กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์หลักพิมพ์, 2548. หน้า 69
  4. ^ พม่าเสียเมือง ฉบับ"คนพม่า"บันทึก
  5. ^ บุญยงค์ เกศเทศ. อรุณรุ่งฟ้า"ฉาน"เล่าตำนานคน"ไท". หน้าที่ 55
  6. ^ มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน จากเว็บพันทิป
  7. ^ ชวนกันเป็นชาวคติชน : อยากทราบประวัติของพระนางศุภยลัตค่ะ
  8. ^ (.....ราชสุสาน ณ นครย่างกุ้ง.....)
  • คึกฤทธิ์ ปราโมช. พม่าเสียเมือง.
  • สาส์นสมเด็จ เล่ม 9 พ.ศ. 2479 (เมษายน - กันยายน) พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2543 (รักษาตัวสะกดเดิม)
  • ลายพระหัตถ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถึง สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เล่าเรื่องเที่ยวเมืองพะม่า วินิจฉัยกรรมเมืองพะม่า (ท่อนที่ 1) หน้า 335 - 341 และเล่าเรื่องเมืองพะม่า วินิจฉัยกรรมเมืองพะม่า (ท่อนที่ 27) หน้า 355-359


ประวัติความเป็นมาของ ผู้พันแซนเดอร์ส ตำนาน KFC




ประวัติความเป็นมาของ ผู้พันแซนเดอร์ส ตำนาน KFC
มีชายคนหนึ่ง พ่อของเขาเสียชีวิตตอนที่เขาอายุได้เพียงห้าขวบเขาต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ขณะอายุ 16 ปี ตอนอายุ 17 ปี เขาแสดงความสามารถพิเศษด้วยการตกงานติดต่อกันถึง 4 ครั้งเขาแต่งงานตอนอายุ 18 ปี ปีถัดมาเขาได้เป็นพ่อคนแต่ชีวิตคู่ของเขาก็มีความสุขอยู่ได้ไม่นานนัก อายุ 20 ปี ภรรยาของเขาพาลูกสาวหนีไปเพราะทนใช้ชีวิตกับเขาไม่ได้ช่วงอายุ 18-22 ปี เขาประกอบอาชีพเป็นคนขายตั๋วรถไฟแล้วก็ล้มเหลวแต่เขาก็ยังต่อสู้กับชีวิตด้วยการหาโอกาสให้ชีวิต แต่ทุกอย่างที่เขาทำก็ไม่วายล้มเหลวเหมือนเดิมเขาสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพแต่ก็ถูกขับออกมาหันเหมาสมัครเข้าโรงเรียนกฎหมาย แต่ด้วยความสามารถอันเอกอุเขาถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดีแล้วเขาก็ไปทำงานเป็นพนักงานขายประกัน แน่นอนที่สุดเขาล้มเหลวอีกครั้ง (แล้ว)
แค่เกริ่นมาข้างต้นก็คงไม่ต้องบอกว่า ชายคนนี้ทำอะไรไม่ได้เรื่องเลยสักอย่าง !แต่ก็อย่างว่าแหละ คนเราอะไรมันจะไม่ได้เรื่องไปเสียหมดสิ่งเดียวที่เขาพบว่า เขาทำได้ดีก็คือ การทำอาหารดังนั้นเขาจึงไปทำงานเป็นพ่อครัวและคนล้างจานในร้านกาแฟเล็กๆ แห่งหนึ่ง แต่นั่นก็ไม่ใช่ชีวิตที่ทรงคุณค่าอะไรเลยในความคิดของเขาชีวิตที่ร้านกาแฟ เขามีเวลามากมายที่จะนั่งคิดและทำอะไรได้มากพอสมควรแต่เขากลับเลือกใช้เวลานั่งคิดถึงภรรยาและลูกสาวของเขาเขาเพียรพยายามติดต่อภรรยาและอ้อนวอนให้เธอกลับมาใช้ชีวิตร่วมกันอีกครั้ง แต่ได้รับคำปฏิเสธ
เขาเปลี่ยนความคิดใหม่ เขาไม่ต้องการภรรยาอีกต่อไป ขอเพียงแต่ได้ลูกสาวกลับคืนมาก็พอเพราะเขารักและคิดถึงเธอเหลือเกินเขาใช้เวลาว่างในร้านกาแฟวางแผนในการนำลูกสาวกลับคืนมาสู่อ้อมอกของตนเขาวางแผนทุกขั้นตอนละเอียดยิบ คำนวณทุกฝีก้าวในที่สุดแผนการอันแสนยาวนานก็เสร็จสิ้นลงเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ คุณพ่อวัยรุ่นผู้น่าสงสารซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้นอกบ้านหลังเล็กๆ ของภรรยาของเขาเฝ้ามองลูกสาวของเขาเล่นอยู่หน้าบ้านและเตรียม พร้อมที่จะ “ลักพาตัวเธอ!”แล้ววันที่ตั้งใจไว้ก็มาถึง เขาซ่อนตัวอยู่หลังพุ่มไม้อย่างระมัดระวัง แม้จะรู้สึกกังวล ตื่นเต้น และตระหนกอยู่บ้างแต่นั่นมิอาจเทียบได้กับความรักที่เขามีต่อลูก เขาตัดสินใจที่จะต้องลงมือทำให้สำเร็จ แต่แล้วอนิจจา
วันนั้นลูก สาวของเขาไม่ออกมาเล่นหน้าบ้านเลยแม้กระทั่งความพยายามในการก่ออาชญากรรม เขาก็ยังล้มเหลวเขารู้สึกเหมือนคนที่พ่ายแพ้ต่อโชคชะตา รู้สึกเหมือนคนไม่มีค่าและเหมือนพระเจ้ากำหนดมาแล้วว่าเขาจะต้องอยู่เพียงลำพังไปตลอดชีวิตแต่เหมือนปาฏิหาริย์ ในที่สุดเขาก็สามารถโน้มน้าวภรรยาให้กลับมาอยู่ด้วยกันได้พวกเขาทำงานด้วยกันในร้านกาแฟแห่งนั้น ทำอาหารและล้างจานอยู่จนกระทั่งเขาเกษียณ ตอนอายุ 65 ปี
วันแรกของการเกษียณอายุ เขาได้รับเช็คเงินประกันสังคมฉบับแรกของเขา เป็นเงิน 105 ดอลลาร์(ราวสี่พันบาท)เช็คดังกล่าวเหมือนเป็นตัวแทนของรัฐที่ฝากมาบอกเขาว่า เขาไม่อาจจะดูแลตัวเองได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งหมดที่เขาทำได้ก็คือใช้ชีวิต อยู่จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยเงินสนับสนุนจากรัฐบาลมันไม่ใช่ครั้งแรกที่เขารู้สึกถูกปฏิเสธ ล้มเหลว เสียกำลังใจ และท้อแท้ชีวิตของเขาได้รับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่งหลังจาก 65 ปีอันยาวนานเขาบอกกับตัวเองว่าถ้าเขาดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องมีชีวิตอยู่โดยให้รัฐบาลดูแลเขาก็ไม่สมควรจะมีชีวิตอีกต่อไป เขาตัดสินใจ (อีกแล้ว) ว่า “จะฆ่าตัวตาย”
เขาหยิบกระดาษหนึ่งแผ่นกับดินสอหนึ่งแท่งนั่งลงใต้ต้นไม้ในสวนหลังบ้านอย่างสงบ ตั้งใจที่จะเขียนคำสั่งเสียและพินัยกรรมแต่แทนที่จะทำเช่นนั้น กลับเหมือนมีอะไรมาดลใจ เหมือนเป็นครั้งแรกที่ชีวิตเกิดปัญญาเขาเริ่มต้นเขียนสิ่งที่เขาควรจะเป็น ชีวิตที่เขาควรจะมี และสิ่งที่เขาปรารถนาในช่วงชีวิตสุดท้ายที่เหลืออยู่เขาตกใจมาก เมื่อค้นพบความจริงในชีวิตว่า เขายังไม่เคยทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาสักอย่างเลย ! (เพิ่งนึกได้)
เขานั่งครุ่นคิดกับตัวเองอย่างจริงจัง มีบางอย่างที่เขาสามารถทำได้บางอย่างที่คนที่รอบตัวทำสู้เขาไม่ได้ ใช่ ! เขารู้วิธีปรุงอาหารชีวิตเกือบทั้งหมดของเขา อยู่ที่หน้าเตาร้อนๆ มาตลอด เขาตัดสินใจกับตัวเองอีกครั้งในที่สุดเขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อทำอะไรสักอย่างในชีวิตให้ประสบความสำเร็จเขาตั้งใจว่าถ้าเขาจะตาย เขาก็อยากจะตายในแบบที่ได้ลองพยายามเป็นใครสักคนและทำบางสิ่งบางอย่างที่มีค่าด้วยชีวิตที่เหลืออยู่น้อยนิดของเขาเขาลุกจากเงาไม้ มุ่งหน้าไปยังธนาคารในเมือง เพื่อขอยืมเงินจำนวน 87 ดอลลาร์จากเช็คประกันสังคมฉบับต่อไปของเขาด้วยเงิน 87 ดอลลาร์นั้น เขาซื้อกล่องเปล่าและไก่จำนวนหนึ่ง
จากนั้นเขาก็กลับไปที่บ้านและลงมือทอดไก่ที่ซื้อมาด้วยสูตรพิเศษที่เขาได้คิดค้นขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ทำงานที่ร้านกาแฟนั้นเขาเริ่มขายไก่ทอดของเขาตามบ้านต่างๆ ในเมืองคอร์บิน รัฐเคนตั๊กกี้ของเขาแล้วคนขายไก่ทอดอายุ 65 ปีคนนั้นก็กลายมาเป็นผู้พันฮาร์แลนด์ แซนเดอร์สราชาผู้เป็นที่รักของอาณาจักร Kentucky Fried Chicken หรือที่เรารู้จักกันในนาม KFC นั่นเองตอนอายุ 65 ปี เขาเป็นเหมือนอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวที่ยังมีชีวิต แต่ในวัย 85 ปีเขาก็กลายเป็นเศรษฐีพันล้านและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีผู้คนให้เกียรติเขาทั่วประเทศ
เรื่องราวชีวิตของผู้พันแซนเดอร์ส เป็นอีกบทหนึ่งของเรื่องราวความสำเร็จที่ได้รับคำยกย่องจากผู้คนทั่วโลก แต่ใครจะรู้บ้างว่าหากใต้ต้นไม้วันนั้นผู้พันแซนเดอร์สได้ทำตามที่เขาตั้งใจไว้แต่แรกตำนานไก่ทอดสะท้านโลกก็คงจะไม่มีให้เราได้เห็นกัน จริงอย่างที่เขาว่า ความสำเร็จกับความล้มเหลวห่างกันเพียงแค่พลิกฝ่ามือมันอยู่ที่ว่าคุณเลือกที่จะ “สู้ต่อ” หรือ “ยอมแพ้”
สำหรับผู้พันแซนเดอร์ส 65 ปี ของชีวิตที่ล้มเหลว เทียบคุณค่าอะไรไม่ได้เลยกับ 20 ปีแห่งความสำเร็จแล้วชีวิตของคุณหละ ล้มเหลวมากพอหรือยัง ?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสาร Financial Freedom
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก: wiki
หุ่นชายแก่ ที่เราเห็น เวลาผ่านร้านเคเอฟซี นั้น คือผู้ก่อตั้งเคเอฟซี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1939 เขาชื่อว่า ฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส เกิดวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เป็นลูกชายคนโต เมื่อเขาอายุได้เพียง 6 ขวบ บิดาก็เสียชีวิตทำให้ แม่ต้องทำงาน เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เพียงคนเดียว แซนเดอร์ส ยังเป็นเด็กน้อยอายุ 6 ขวบ ต้องรับภาระเลี้ยงดู น้องชายอายุ 3 ขวบ และน้องสาว ยังเล็กอยู่ เขาต้อง ทำงานบ้านทุกอย่าง รวมถึง ทำอาหารเองด้วย แซนเดอร์ส มีความสามารถในเรื่องนี้มาก จนได้รางวัลชนะเลิศ ในการประกวด ทำอาหารประจำหมู่บ้าน ขณะที่อายุได้เพียง 7 ขวบเท่านั้น
…….แซนเดอร์สเริ่มรับจ้างทำงานครั้งแรก เมื่อมีอายุได้ 10 ปี โดยเริ่มจาก การทำงานในฟาร์มใกล้บ้านได้ค่าแรงเพียง เดือนละ 2 ดอลลาร์ และอายุได้ 12 ปี เขาก็ออกจากบ้าน ไปทำงานที่ฟาร์มในหมู่บ้านเฮนรี วิลล์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้น ของชีวิตการทำงานหลาย ๆ อย่าง ที่เขาเคยทำ เช่น เป็นนักดับเพลิง ฝึกงานที่ศาล ขายประกัน ขายยาง ทำงานที่สถานีขนส่ง และเมื่ออายุ 47 ปี แซนเดอร์ส ก็เริ่มทำอาหารจำหน่ายที่สถานีขนส่ง ในรัฐเคนตั๊กกี้ ปรากฏว่า อาหารที่เขาทำเป็นที่นิยมมาก แซนเดอร์ส จึงลาออก ไปทำร้านอาหาร หลังจากนั้นอีก 9 ปี เขาได้คิดค้นสูตรการปรุงไก่ทอดด้วยส่วนผสมลับเฉพาะ จากเครื่องเทศ 11 ชนิด และใช้วิธีการทอดไก่แบบพิเศษ เพื่อรักษารสชาติ และความหอมอร่อย ของไก่ทอดไว้ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดไก่ทอด สูตรต้นตำรับ เคเอฟซี แซนเดอร์ส สร้างชื่อให้รัฐ เคนตั๊กกี้มาก ผู้ว่าการรัฐจึงแต่งตั้งให้เขาเป็น ผู้พันแซนเดอร์ส เพื่อเป็นเกียรติ
…….จนถึงวันนี้เคเอฟซี ได้ขยายสาขา มากกว่า 29,500 แห่งใน 92 ประเทศทั่วโลก …โดยมี หุ่นจำลองของผู้พันแซนเดอร์ส ตั้งอยู่หน้าร้าน เหมือนเป็น เครื่องรับประกันถึงความอร่อย ของไก่ทอด ตำหรับ KFC COLONEL SANDERS THE LEGENDARY CHICKEN EXPERT
1890
ตำนานความอร่อยของไก่ทอด KFC เริ่มต้นโดย พันเอกฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส ท่านถือกำเนิดขึ้นในเมืองคอร์บิน มลรัฐเคนตั๊กกี้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ในปี 1890
- 1930
ในช่วงปี 1930 พันเอกฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส เริ่มปรุงไก่ทอดที่แสนอร่อย ให้แก่นักเดินทางทั่วไป ที่มาหยุดพักรับประทานอาหาร ที่ร้านของท่านในเมือง คอร์บิน มลรัฐเคนตั๊กกี้
- 1939
ชื่อผู้พันแซนเดอร์สเริ่มเป็นที่รู้จัก ในปี 1939 พันเอก ฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส ได้รับเกียรติจากมลรัฐเคนตั๊กกี้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้พัน เคนตั๊กกี้ แทนความยินดีจากผู้ว่ามลรัฐ เคนตั๊กกี้ที่ท่าน ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่รัฐ เพราะท่านได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เพื่อคิดค้นสูตรไก่ทอดที่แสนอร่อย โดยนำไก่ มาคลุกเคล้ากับเครื่องเทศ 11 ชนิด และใช้วิธีพิเศษ ของการทอดด้วยเตาทอดระบบ ความดัน เพื่อรักษา รสชาติ หอมอร่อยของไก่
- 1950
ด้วยความมั่นใจในรสชาติ และคุณภาพของไก่ทอด ในปี 1950 ผู้พันเริ่มออกเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกา และแคนาดาด้วยตัวท่านเองจากร้านหนึ่งไปสู่อีก ร้านหนึ่ง เพื่อขายแฟรนไชส์ ธุรกิจของท่าน
- 1955
ในปี 1955 ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ได้ก่อตัวขึ้นในรูปบริษัท เป็นครั้งแรก โดยผู้ก่อตั้งคือผู้พันแซนเดอร์ส
- 1964
มาในปี 1964 ผู้พันแซนเดอร์สได้ขายกิจการ ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ให้แก่ กลุ่มนักลงทุนมืออาชีพที่มี Jack Massey และ John Y. Brown Jr. เป็นแกนนำ
- 1978
เพื่อรักษาไก่ทอดเคนตั๊กกี้ ให้คงคุณภาพและรสชาติ แบบดั้งเดิม จึงมีการเปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งชาติของ KFC ขึ้นในปี 1978 โดยมีผู้พันแซนเดอร์สเป็น ผู้ตรวจสอบการรักษารสชาติ ของไก่ทอดเป็นหม้อแรก จากพีท ฮาร์แมน ผู้ที่ได้แฟรนไชส์เป็นรายแรก
- 1980
แล้วในปี 1980 ผู้พันแซนเดอร์สก็ถึงแก่กรรมท่านอายุได้ 90 ปี ร่างของท่านถูกนำไปตั้ง ณ ที่ทำการของเมืองหลวง มลรัฐเคนตั๊กกี้ และจากนั้นได้ถูกนำไปฝังที่สุสาน เดฟฮิลล์ เมืองหลุยวิลล์
- 1999
ในปัจจุบัน KFC มีเครือข่ายของร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีร้านที่ให้บริการอาหาร และของว่างมากกว่า 29,500 แห่ง ในกว่า 92 ประเทศทั่วโลก KFC ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของ ผู้พันแซนเดอร์สถือเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และยังคงก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ด้วยคุณภาพและสำนึกในความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคม ไม่ว่าท่านจะอยู่ในประเทศใดท่าน จะสามารถสัมผัสและระลึกถึงผู้พัน แซนเดอร์ส ตำนานแห่งไก่ทอดแสนอร่อยของ KFC ได้เสมอ
ทุกคนคงนึกถึง ไก่ทอดที่ขึ้นชื่อไปทั่วโลก ใครๆก็รุจัก
ชื่อเดิมของ ไก่ KFC คือ คือ Kentucky Fried Chicken เหตผลที่เปลี่ยนชื่อไปเพราะ
1. เหตผลแรกที่เปลี่ยชื่อเพราะ  ในยุคสมัยหนึ่ง ผู้คนหลีกเลี่ยงการทางอาหารทอด เพราะว่าทำให้อ้วน และไขมันสูง (Fired = ทอด) ทำให้ทาง KFC จะต้องเปลี่ยนชื่อและปรับกลยุทธ์ให้ดูว่าทางร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น และยังเป็นการทำให้แบรด์ดูทันสมัยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
2. เหตผลเรื่องเงิน เพราะในสมัยก่อนนั้น ทางรัฐแคนตั๊กกี้ หากจะใช้ชื่อคำว่า Kentuckey ในแบรด์ใดก็ตามจะต้องจ่ายค่าชื่อนั้นให้กับรัฐเคนตั๊กกี้ ในอเมริกา ทางKFC ตระหนักดีว่าจะต้องจ่างเงินก้อนนี้เป็นมาหาศาล เพราะใช้ทั่วโลก จึงไม่ต้องการ จะเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้   แต่ความ KFC ทำคุณประโยชน์ให้รัฐนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทำให้ัรัฐแคนตั้กกี้ ทบทวนที่จะไม่เก็บ ค่าใช้ชื่อนี้อีก กัย KFC ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ทาง KFC และรัฐเคนตั๊กกี้ได้มีการเจรจาตกลงร่วมกัน และทำให้ KFC สามารถกลับมาใช้ Kentuckey ได้อย่างเดิมแล้วครับ ข้อมูลจาก  http://www.snopes.com/lost/kfc.asp

http://9leang.com/?p=1813

สุวรรณมาลี

สุวรรณมาลี


นางสุวรรณมาลี เป็นธิดาของท้าวสิลราช กษัตริย์เมืองผลึก กับนางมณฑา นางมีรูปโฉมงดงามมาก แต่มีนิสัยขี้หึง ได้หมั้นหมายไว้กับอุ ศเรนโอรสกษัตริย์เมืองลังกา นางลงเรือไปเที่ยวทะเลกับท้าวสิลราชแล้วได้ไปพบกับพร ะอภัยมณีที่เกาะแก้ว พิสดาร สินสมุทรบุตรของพระอภัยมณีพยายามเป็นสื่อให้นางรักใค ร่กับพระอภัยมณี ครั้นได้กลับไปถึงเมืองผลึกนางก็ได้เข้าพิธีแต่งงานก ับพระอภัยมณี ทั้งสองมีธิดาฝาแฝดชื่อสร้อยสุวรรณและจันทร์สุดา ต่อมาพระอภัยมณีตัดสินใจบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญศีลอยู่ที่ เขาสิงคุตร์ นางสุวรรณมาลีก็บวชตามไปปรนนิบัติด้วยความจงรักภักดี นางสุวรรณมาลีนั้นกล่าวได้ว่านางเป็นผู้หญิงที่มีรูป โฉมงดงาม เห็นได้จากกลอน บทที่ว่า 
พระเลื่อนองค์ลงจากบัลลังก์อาสน์ หวังสวาทว่าจะโลมนางโฉมฉาย 
ครั้นเข้าชิดคิดได้ไม่ใกล้กลาย แต่เดินชายชมนางไม่วางตา
พระโอษฐ์เอี่ยมเทียมสีลิ้นจี่จิ้ม เป็นลักยิ้มแย้มหมายทั้งซ้ายขวา
ขนงเนตรเกศกรกัลยา ดังเลขาผุดผ่องละอองนวล
นอกจากนางจะเป็นหญิงที่มีความงามแล้ว นางยังมีความสามารถมีสติปัญญาเทียบเท่าผู้ชาย มีความรู้ในการรบ รู้ตำราพิชัยสงคราม และยังมีความเฉลียวฉลาดสามารถเอาตัวรอดได้ ส่วนด้านความรู้ด้านการรบนางก็มีตามวิสัยลูกกษัตริย์ ตามที่จะเห็นได้จากตอนที่นางช่วยสินสมุทรบกับอุศเรน

ลักษณะนิสัย 
1.นางเป็นผู้มีความกตัญญู หลังจากเรือแตกนางก็เฝ้าเป็นห่วงพระบิดาของตนเสมอ 
2. นางเป็นคนที่มีจิตใจเมตตา นางรักสินสมุทรเหมือนลูกของตัวเอง โดยที่นางไม่ความรังเกียจเลยแม้แต่น้อย ความรักที่นางมีให้สินสมุทรนั้นเหมือนว่านางเป็นแม่แ ท้ๆของสินสมุทรเลยที เดียว
3.นาง มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในเรื่องการปกครอ งบ้านเมือง หรือ บัญชาการทัพ สุวรรณมาลีก็ได้แสดงความเด็ดเดี่ยวให้ประจักษ์ นางสามารถเป็นแม่ทัพบัญชาการรบได้โดยไม่ต้องพึ่งพาพร ะอภัยมณีเลย ในครั้งที่อุศเรนยกมาตีเมืองผลึก พระอภัยมณีเป็นเพียงทัพหนุนคอยโจมตีซ้ำเมื่อทัพลังกา แตก ส่วนสุวรรณมาลีเป็นทัพที่ต้องเข้าสู้รบอย่างเต็มที่ และในการรบครั้งนี้ นางเองเป็นฝ่ายอาสาในขณะที่พระอภัยมณีปรึกษานางวาลีว ่า จะรบหรือจะหนี สุวรรณมาลีกลับอาสาเข้าต่อสู้ด้วยโดยไม่ลังเลใจ แสดงว่า ไม่เพียงแต่รู้วิชารบ หากยังมีใจเป็นนักรบ คือมั่นคงพูดคำไหนเป็นคำนั้น ไม่โลเล หรือตัดสินใจไม่เด็ดขาดเหมือนพระอภัยมณี
จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่านางสุวรรณมาลี เป็นหญิงที่เพียบพร้อมไปทั้ง รูปโฉม สติปัญญา และชาติตระกูล อีกทั้งยังเป็นหญิงที่มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นลักษณะที่โดดเด่นของนางในวรรณคดีตัวนั้นที่เห็นได้ชัดเจนที เดียว 
 
นำมาจาก http://www.junjaowka.com/


นางวันทอง

นางวันทอง


นาง วันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอส มควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี 
นางวันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็น เด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า 

"ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำงามเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย"
เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย 
ลักษณะนิสัย 
เนื่องจากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบ ๆ ออกมาได้มากมาย 

นางวันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพ ณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว 
อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที ่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยค วามดีของขุนช้างและความ ผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรม ของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น 


นำมาจาก http://www.junjaowka.com/

นางละเวงวัณฬา

นางละเวงวัณฬา


ประวัติ 

นางละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณ มาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่า งเมืองลังกาและเมือง ผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงไ ด้ 

ลักษณะนิสัย
 

บทบาท ของนางละเวงในเรื่องนั้นค่อนข้างแปลกกว่าตัวผู้หญิงใ นเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นทั้งนางเอกและผู้ร้ายก้ำกึ่งกัน 
ใน ตอนต้นนางทำศึกโดยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบา ทหลวง ทั้งนี้ด้วยคามแค้นที่พ่อและพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมื อชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้นๆจะไม่ได้ผลเต็มที่ นางก็ไม่ละความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพข้ามไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้งๆที่มีความเกลียด ความโกรธ ความอาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้า และต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเ ดียว นางก็ชักจะเรรวนไปข้างเสน่หาพระอภัยมณีเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงจึงยอมตัดใจไม่เกี่ยวข้องกับพระอภัยมณีเป็นอ ันขาด แต่จะยกกองทัพกลับมาต่อสู้ให้ชนะให้จงได้ การที่จะทำศึกกับคนที่ตนรักนั้นไม่ใช่ของง่าย นางละเวงเองก็ทรมานใจ 
“เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย 
ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล” 

นำมาจาก http://www.junjaowka.com/

พระเพื่อนพระแพง

พระเพื่อนพระแพง


ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระ แพงเกิดความรักและ ปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระล อฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหล งไหลคิดเสด็จไปหานาง 


ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อ พระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง 


เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครส วามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์ 


ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสี ย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีก ันต่อมา 


คติและแนวคิด 


ตำนานรักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง 


นำมาจาก http://www.junjaowka.com/